กรณีศึกษาเครน 130 ตัน ล้ม

กรณีสึกษารถเครน 130 ล้ม

กรณีศึกษารถปั้นจั่น 130 ตันล้ม

การทำงานปกับปั้นจั่น ทำงานกับเครน สิ่งที่ผู้ปฎิบัติงานจะต้องทำเป็นอันดับแรกๆ ก็คือ การอบรมคนใช้เครน อบรมคนใช้ปั้นจั่น และเมื่อมีการใช้ปั้นจั่น ไม่ว่าจะเป็นปั้นจั่นอยู่กับที่ หรือ ปั้นจั่นเคลื่อนที่ จะต้องทำการ ตรวจเครน ตรวจปั้นจั่น ตรวจเครน ปจ.1 เมื่อทำทุกอย่างถูกต้องที่กฎกระทรวงกฎหมายกำหนดดีแล้ว สิ่งต่อมาคือการทำแผนการยก หรือที่เรียกว่าการทำ Lifting Plan เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้หากต้องการให้การทำการยกมีความปลอดภัยมากขึ้น

บทความนี้จะเป็นกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถปั้นจั่น 130 ตัน ที่ประสบอุบัติเหตุจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต ว่าในการทำงานลักษณะแบบนี้มีความเสี่ยง หรือความจะเป็นเช่น หรือ อะไรที่อาจจะพลาดไป จนอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุใหญ่ขึ้นได้ เป็นผลให้เกิดความเสียหายอย่างมาก

เหตุการณ์

7 ส.ค. 2557 : เครนขนาด 130 ตัน ล้มขวางทางมอเตอร์เวย์สาย 7 ทับคนขับรถตู้คนขับดับ 1 คน บาดเจ็บ 5 ราย

พิกัดและ Spec. ของเครนที่ใช้ทำ Lifting Plan

พิกัดเครนสูงสุด Max .Crane Capacity : 130 Ton

Dimension : 14.69 m x 3 m x 3.94 m

Max. Counterweight : 45 Ton

Main boom length : 12.8 m – 57.5 m

Gross Vehicle Weight : 54.9 Ton

สาเหตุที่เป็นไปได้ที่อาจจะทำให้เครนคว่ำ

  1. สาเหตุเพราะลมแรง : จากคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่เหตุการณ์ มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุลมแรง เพราะในวัน และ ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุได้ลมแรงเกิดขึ้น แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าความเร็วลมอยู่ที่ทำใด แต่จากการวิเคราะห์ Load Chart เมื่อเราทำแผนการยก (Lifting Plan) ย้อนกลับ จะพบว่า พิกัดยกเทียบกับพิกัดจาก Load chart นั้นมี capacity rate เพียง 19.35% เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะมีลมแรงเกิดขึ้น แต่หากไม่ใช่ถึงขั้นลมพายุแล้ว โอกาสที่เครนจะคว่ำเพราะเหตุนี้จึงมีความเป็นไปได้น้อย
  2. ไม่ใส่ Counterweight + ยกน้ำหนักเกิน ? สาเหตุที่สำคัญ และไม่สามารถตัดทิ้งได้ เพราะจากภาพที่ปรากฎมาในข่าวนั้น รถปั้นจั่นขนาด 130 ตันคันนี้ไม่ได้ใส่ counterweight หรือที่เรียกว่าน้ำหนักถ่วง แต่จากการวิเคราะห์ Load chart เช่นเดิม และการทำแผนการยก Lifting Plan ย้อนกลับ ก็แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ไม่ได้ใส่น้ำหนักถ่วงท้าย แต่เครนก็ยังมีความปลอดภัยสูงอยู่ดี
  3. พื้นทรุด/ดินสไลด์ ข้อสรุปและการคำนวณและจากการอบรมเครน อบรมปั้นจั่น ต่างชี้ไปในการเดียวกันว่า รถปั้นจั่นคันนี้่าจะเกิดอาการพื้นทรุด และ/หรือดินสไลด์ จะทำให้เครนขาดเสถียรภาพ และคว่ำเอาได้นั่นเอง

ในการยกด้วยรถเครนนั้น จำเป็นต้องทำแผนการยก สนใจอบรมคอร์สออนไลน์

คอร์สอบรม Mini Lifting Plan วางแผนการยกฉบับมินิ

เหตุการณ์ในข่าวกรณีศึกษาเครนคว่ำ
สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้เครนล้ม
ลมแรงสามารถทำให้เครนคว่ำได้
การใส่น้ำหนักถ่วง counterweight ของเครน
การอ่านค่า Load chart เครน
การอ่านค่าพิกัดยกของรถเครน ใน Load Chart
คำนวณพิกัดยก Lifting Plan
คำนวณขนาดแผ่นรองขายันพื้นรถปั้นจั่น
การหาระยะปลอดภัยเมื่อตั้งรถใกล้ขอบบ่อ ขอบดิน
หลักสูตรอบรมทำแผนการยก Lifting Plan
แบบฟอร์มทำแผนการยก Lifting plan