วิธีการคำนวณต้นกำลังของมอเตอร์ขับเครน
ในการที่เราจะขับคำนวณหาแรงขับต้นกำลังของการเคลื่อนที่ของการขับเครน ขับปั้นจั่น จะเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบปั้นจั่นโดยวิศวกรเครื่องกล ซึ่งความรู้เหล่านี้จะได้จากการศึกษาทฤษฎีพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมของวิศวกร และเมื่อนำมาใช้งานยก ผู้ปฎิบัติงานจะต้องผ่านการอบรมเครน อบรมปั้นจั่น 4 ผู้ อบรมคนขับเครนด้วย และปั้นจั่น ไม่ว่าจะเป็น ปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง หรือรถปั้นจั่น รถโมบายเครน รถเฮี๊ยบ ต่างก็ต้องมีการทดสอบเครน ตรวจสอบเครน ตรวจ ปจ.1 ตามรอบของกฎหมายกำหนด
หาแรงเสียดทานระหว่างล้อและรางวิ่ง(Runway Rail)
เมื่อล้อเครนวิ่งบนรางเหล็ก ถึงแม้จะเป็นเหล็กที่อยู่บนเหล็ก (Steel on Steel) แต่ก็ยังมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นอยู่ดี เพราะฉะนั้นจะต้องมีการคำนวณแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นด้วย
หาความเร่ง และ แรงที่ขับจากสมการเคลื่อนที่ของนิวตัน
จากสมการเคลื่อนที่ เมื่อความเร็วต้นเป็น 0 และความเร็วปลายเท่ากับ 0.5 m/s ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 30 m/min ซึ่งเป็นค่าในการออกแบบ เมื่อนำค่าความเร่งไปแทนในสมการเคลื่อนที่ จะได้แรงขับทั้งหมดออกมาเท่ากับ 33,250 N
จากนั้นเราจะนำแรงขับไปคำนวณหากำลังขับของมอเตอร์ขับเครนจะได้ตามภาพ
การขับเคลื่อนทางกล จะมีความสูญเสียเนื่องจากแรงเสียทานที่ระบบส่งกำลังเช่น Gear Box โซ่ หรือ สายพาน สมมติมีการศูนย์เสียกำลังที่ หัวเกียร์ และ Spline 10% และ 5% ตามลำดับ เพราะฉะนั้นจะได้ Power input เท่ากับตามภาพ
หา RPM ที่ล้อและมอเตอร์ขับเคลื่อนเครน
ซึ่งโดยตามปกติแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับมักจะมีการผลิตที่ 2 Pole, 4 Pole ทำให้ rpm ของมอเตอร์จะเป็น 3000 และ 1500 ตามลำดับ แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมอเตอร์ไฟฟ้ามักจะมีความเร็วรอบไม่เกิน 2900 และ 1450 rpm
คำนวณหาอัตรทดของมอเตอร์เกียร์
Ratio = rpm ของมอเตอร์ / rpm ของล้อเครน