1. มีสลิงพันอย่างน้อย 2รอบในม้วนสลิงตลอดเวลา เพราะเพื่อป้องกันไม่ให้สลิงหมดม้วนและสลิงจะหมุนกลับด้าน ข้ามร่องในม้วนสลิง ทำให้สลิงชำรุดเสียหายอย่างมาก
2. ตะขอต้องมีที่ปิดปากตะขอและใช้งานได้ เพราะการที่เราแขวนอุปกรณ์ช่วยยกไปในตะขอนั้น ถ้าหากมีการเคลื่อนที่ของเครน ของปั้นจั่น จะทำให้มีชิ้นงานสามารถหลุดล่วงออกจากปากตะได้ถ้าไม่มีที่ปิดปากตะขอ (Safety Latch)
3.ให้มีที่กั้น,ตัวครอบปิดส่วนที่หมุนได้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีชิ้นส่วน หรืออวัยวะส่วนใดส่วนนึงของผู้ที่ปฎิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นเข้าไปขัดหรือติดจนเกิดอันตรายได้
4. ต้องมีถังดับเพลิงที่เหมาะสมไว้ในห้องคนขับหรือจุดอื่นที่ใช้งานได้ง่าย ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้
5. ต้องมี Upper Limit Switch ป้องกันการยกชิ้นงานขึ้นชนรอกด้านบน เพราะเมื่อผู้ปฎิบัติงานกดตะขอขึ้นไปบนสุด ในกรณีที่ไม่มี Limit Switch ตัดขึ้นเพื่อตัดการทำงานได้นั้น จะทำให้ตะขอชนม้วนสลิงจะทำให้เกิดแรงดึงมหาศาลในเส้นลวด ซึ่งจะเป็นเหตุให้สลิงขาดได้
6. ต้องมี Overload Limit Switch ป้องกันการยกน้ำหนักเกิน ซึ่งการยกน้ำหนักเกินไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามนั้นจะสร้างความเสียหายให้กับปั้นจั่นเครนอย่างมาก
7. ต้องมีฉนวนหุ้มท่อไอเสีย
8. ต้องทำราวกันตก พื้นกันลื่น สำหรับปั้นจั่นที่ต้องจัดทำพื้นและทางเดิน ซึ่งเครนหรือปั้นจั่นที่จะต้องทำทางเดินคือประเภทปั้นจั่นเหนือศีรษะคานคู่ เพราะช่างซ่อมบำรุง วิศวกรจำเป็นจะต้องขึ้นไปตรวจสอบและซ่อมบำรุงด้านบน
9. สัญญาณเสียงและแสง ต้องมีเตือนตลอดเวลาขณะทำงาน
10. ป้ายบอกพิกัดยก ต้องมีติดที่ปั้นจั่นและรอกตะขอ
11. รูปภาพให้สัญญาณมือต้องมีแผนภาพตามมาตรฐาน ASME หรือที่กรมสวัสดิฯประกาศ
12. ป้ายเตือนระวังอันตราย ต้องมีและติดตั้งให้เห็นชัดเจน
ในการทำงานเกี่ยวกับเครนปั้นจั่นนั้น ตามกฎกระทรวงเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ ปี 2564 ได้กำหนดให้นายต้องให้ลูกได้มีการ อบรมเครน อบรมปั้นจั่น โดยมีเนื้อหาตามที่ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด ซึ่งในตอนนี้เราจะยังคงใช้ประกาศในปี 2554 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น โดยมีหลักสูตรแบ่งหน้าที่คนทำงานทั้งหมด 4 ผู้ คือ 1. ผู้บังคับปั้นจั่น 2. ผู้ยึดเกาะวัสดุ 3.ผู้ให้สัญญาณกับผู้บังคับปั้นจั่น และ 4.ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานเครน ใช้งานปั้นจั่นไม่ว่าจะเป็นปั้นจั่นเหนือศีรษะ แบบคาน หรือแบบคานคู่ก็ตาม ปั้นจั่นขาสูง ปั้นจั่นรางเดี่ยว ถ้าหากพิกัดยก WLL มีขนาดตั้งแต่ 1 ตันเป็นต้นไปนั้น ตามกฎกระทรวงเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ ปี 2564 ได้กำหนดให้ทำการ ทดสอบปั้นจั่น ตรวจเครน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามเงื่อนไขที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศ