วัด Deflection ของเครนผ่านในการตรวจเครน ทดสอบเครน ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัยเสมอไป
โดยปกติแล้วในการตรวจสอบ ทดสอบเครน ตรวจปั้นจั่น ปจ.1 ปจ.2 ตามกฎกระทรวงฯ เครื่องจักรปั้นจั่น หม้อน้ำ ปี 2564 ซึ้งกฎหมายตรวจเครนฉบับใหม่ และตามประกาศกรมสวัสดิการฯ เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการทดสอบปั้นจั่น ปี 2565 ได้มีการกำหนดให้วิศวกรระบุพิกัดของปั้นจั่นไว้ด้วย
ซึ้งถ้าหากเป็นปั้นจั่น เป็นเครนที่ได้รับออกแบบและติดตั้งอย่างถูกต้อง มีวิศวกรรับรองตั้งแต่แรก ปั้นจั่น เครน เครื่องนั้นก็คงไม่มีปัญหาในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งาน หรือเรื่องพิกัดการรับแรง
งานปั้นจั่นที่ต้องมีวิศวกรเครื่องกลเซ็นรับรอง
แต่ถ้าหากวิศวกรตรวจเครน ตรวจปั้นจั่น ตามแบบ ปจ.1 ไปเจอเครนที่โรงงานนั้นทำขึ้นมาเอง หรือที่เรียกว่าเครน OTOP โดยไม่มีวิศวกรรับรองเครนตั้งแต่แรก การไปยกทดสอบ แล้ววัด deflection พอไปเทียบกับมาตรฐานค่าการแอ่นตัว แล้วผ่าน ก็เลยมักจะสรุปว่าปั้นจั่นเครื่องนั้นปลอดภัย และเซ็นรับรอง
แต่ในความเป็นจริงแล้ว การตรวจเครน การตรวจรับรองปั้นจั่นนั้น ตั้งแต่การออกแบบ จนถึงคำนวณย้อนกลับ ไม่ได้มีแค่การคำนวณ deflection อย่างเดียว ยังมีการคำนวณอื่นๆ ด้วยเช่น
1.Deflection (Vertical + Horizontal)
2.Bending Stress
3.Shear Stress
4.Compact/Noncompact >> Buckling
5.Fatigue (Option)
6.Wind load
อย่างที่เห็นค่า Deflection เป็นแค่ค่าส่วนน้อยนิดมหาศาลในการคำนวณ ในการรับรอง อย่าไปจริงจังกับมันมาก
ทีนี้เราไปดูเหตุผลกัน โดยเริ่มจาก Deflection Limit ก่อน
สมการค่าแอ่นตัวสำหรับการตรวจเครนอย่างง่าย
ค่า Deflection ที่คำนวณได้ จะเป็นค่าที่เกิดจากเฉพาะการแอ่นตัวของคานปั้นจั่น
มาตรฐานค่าการแอ่นตัวสำหรับออกแบบเครน ตามมาตรฐานสากล
แต่ปัญหาคือในการออกแบบปั้นจั่น หรือการคำนวณย้อนกลับ ทำรายการคำนวณเครน เราไม่ได้ใช้แค่ค่า Deflection ไง แต่ยังมีสมการมากมายมหาศาลให้คำนวณ
ปัญหาแรกๆที่ต้องคิดคือ Bending Stress และ Moment of inertia ค่า c และ ค่า Ix ในสมการนี้สำคัญมากๆเช็ค Deflection อย่าลืมเช็คสมการนี้
ตัวอย่างการคำนวณย้อนกลับ สำหรับเครนรับน้ำหนัก 5 ตัน Span 10 เมตร
คำนวณหา หา Bending Stress ไปเทียบกับค่า Allowable Bending Stres ต้องหา Max bending moment ก่อนจากการตัดคาน (Shear and bending moment diagram) สมมติคานปั้นจั่นรับ Load แบบง่ายๆ
Bending Stress มากกว่า ค่า Allowable Bending stress หมายความว่าค่าความปลอดภัยไม่เพียงพอ !! จริงๆ แล้วยังมีค่า Local Buckling/lateral torsion buckling ในการวิเคราะห์เพิ่มเติมอีก ซึ่งถ้ามีใครออกแบบหน้าตัดคานปั้นจั่นเป็นแบบนี้ สิ่งที่จะเกิดแน่นอนคือ Lateral torsion buckling(LTB) แน่นอน เพราะหน้าตัดของคานปั้นจั่น เป็นแบบ slender section แต่ในแง่ของวิศวกรตรวจปั้นจั่น การบอกแค่ว่าไม่ปลอดภัยแค่นั้นไม่ถูกต้อง เราต้องคำนวณหาพิกัดปลดภัยของปั้นจั่น(SWL) ด้วย
ตรวจเครน ปจ.1 ปจ.2 Reverse Engineering
เพราะฉะนั้นถ้าคุณจะทำงานตรวจทดสอบปั้นจั่น ถ้าหากเจอปั้นจั่นที่ออกแบบไม่ดี ไม่ได้มีการรับรองโดยวิศวกรตั้งแต่แรก จะมัวแต่ยิงเลเซอร์แก้เขินไม่ได้ ควรประเมินความเสี่ยงโครงสร้าง และทำการคำนวณย้อนกลับ เพราะเราจะย้ำอีกครั้งว่า ยิงเลเซอร์วัด Deflection ของปั้นจั่นผ่านไม่ได้แปลว่า ปลอดภัยเสมอไป