รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำงานปั้นจั่น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำงานปั้นจั่น

รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำงานกับปั้นจั่น

ในการอบรมเครน อบรมปั้นจั่น 4 ผู้ อบรมคนขับเครน อบรมผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือในการทดสอบเครน ตรวจสอบเครน ปจ.1 มักจะได้ยินได้ฟังคำถามมากมาย เราขอรวบรวมคำถามคำตอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้สนใจไว้ศึกษากันนะครับ

PDF

Download PDF รวมคำถามที่พบบ่อย สำหรับนำไปใช้สอนในองค์กร

เครื่องตอกเสาเข็ม เรียกว่าปั้นจั่น ?

นิยาม : ปั้นจั่น คือเครื่องจักรที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายแขวนลอยตามแนวราบ

นิยาม : เครื่องตอกเสาเข็ม คือเครื่องจักรและส่วนประกอบที่อาจแยกออกจากกันหรือรวมเป็นชุดเดียวกันเพื่อใช้ในการตอกเสาเข็ม

อ้างอิง : กฎกระทรวงแรงงานฯ ในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ปี 2564 และ กฎกระทรวงแรงงานฯ เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ ปี 2564

 

หลักสูตรผู้ใช้งานปั้นจั่น อบรมกี่ ชม. ?

หลักสูตรอบรม

ปั้นจั่นอยู่กับที่ Overhead Crane, Gantry Crane

ปั้นจั่นเคลื่อนที่ Mobile Crane, Ship Crane, Tower Crane

1. ผู้บังคับปั้นจั่น

12 ชม.

18 ชม.

2. ผู้บังคับปั้นจั่น +ผู้ยึดเกาะวัสดุ+ผู้ให้สัญญาณ

12 – 15 ชม.

18 – 21 ชม.

3. ผู้บังคับปั้นจั่น +ผู้ยึดเกาะวัสดุ + ผู้ให้สัญญาณ + ผู้ควบคุมการใช้

15 – 18 ชม.

21 – 24 ชม.

4. อบรมทบทวน

3 ชม. (ทุก 2 ปี)

3 ชม. (ทุก 2 ปี)

อ้างอิง : ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการอบรม ผู้ปฎิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ปี 2554

พนักงานอบรมปั้นจั่นในหลักสูตรหลักไปแล้ว (ผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นขั้นต่ำ 12 ชม.) แต่ไม่ได้อบรมทบทวน ภายใน 2 ปี ต้องอบรมใหม่หมดเลยหรือไม่

ไม่จำเป็น เพราะกฎกระทรวงฯ หรือประกาศกรมสวัสดิฯ ไม่ได้กำหนดเรื่องนี้เอาไว้

อ้างอิง : ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการอบรม ผู้ปฎิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ปี 2554

วิทยากรปั้นจั่นต้องขึ้นทะเบียน กับหน่วยงานใด และต้องใส่เลขทะเบียนวิทยากรในใบเซอร์ ?

ยังไม่มีการเปิดให้ขึ้นทะเบียนวิทยากรฝึกอบรมปั้นจั่นกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกฎกระทรวงฯ ยังไม่ได้กำหนดให้ขึ้นทะเบียนด้วย เพราะฉะนั้นเลขทะเบียนวิทยากรที่ออกโดยกรมสวัสดิฯ ก็ยังไม่มีเช่นกัน

อ้างอิง : ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการอบรม ผู้ปฎิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ปี 2554 หมวด 3 คุณสมบัติวิทยากรฝึกอบรม

วิทยากรปั้นจั่นต้องผ่านการอบรมหลักสูตรวิทยากรปั้นจั่นจากสมาคมฯ ?

ไม่จำเป็น เพราะวิทยากรฝึกอบรมปั้นจั่นขอแค่เพียงมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

1.ไม่ต่ำว่า ป.ตรี วิศวกรรมเครื่องกล และ ประสบการณ์ ≥ 1 ปี

2.ป.ตรี วิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์หรือเทียบเท่า, ปวส. สาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างไฟฟ้าหรือเทียบเท่า หรือ จป.วิชาชีพซึ่งมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ≥ 3 ปี หรือ มีประสบการณ์ในหัวข้อบรรยาย ≥ 3 ปี

3.ช่างชำนาญการ มีประสบการณ์ทำงานและหัวข้อบรรยาย ≥ 5 ปี

4.เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีประสบการณ์ในหัวข้อบรรยาย ≥ 1 ปี

อ้างอิง : ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการอบรม ผู้ปฎิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ปี 2554 หมวด 3 คุณสมบัติวิทยากรฝึกอบรม

ใบเซอร์อบรมผู้ปฎิบัติงานปั้นจั่นต้องส่งกรมสวัสดิฯ ?

ไม่จำเป็น เพราะในประกาศกำหนดเพียงแค่เก็บไว้ให้พนักงานแรงงานตรวจสอบเท่านั้น

สามารถจัดอบรมปั้นจั่นภายในกันเองได้หรือไม่ หรือต้องจ้างวิทยากรภายนอกเท่านั้น?

สามารถจัดอบรมภายในกันเองได้แต่ต้องมีเงื่อนไขคือ

1.วิทยากรต้องมีคุณสมบัติตามประกาศฯ ปี 54

2.เนื้อหาอบรม –ชั่วโมงอบรม ต้องครบถ้วน และแจ้งอบรมล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน

3.ต้องมีการสอบภาคทฤษฎี-ปฎิบัติ วัดผลไม่น้อยกว่า 60% และออกใบเซอร์ผู้ผ่านการอบรม

บริษัท หรือ ศูนย์ฝึกอบรมที่จัดอบรมปั้นจั่นต้องขึ้นทะเบียนกรมสวัสดิฯ หรือที่อื่นหรือไม่ ?

ไม่มีการกำหนดให้ขึ้นทะเบียนกับที่ใดเลย เพื่อให้สามารถทำการฝึกอบรมปั้นจั่นได้ สรุปคือ ถึงแม้ไม่มีการขึ้นทะเบียนจากที่ใดก็สามารถจัดการฝึกอบรมได้

ผู้ทำการ “ทดสอบ” ปั้นจั่นเป็นใคร และ ต้องขึ้นทะเบียนหรือไม่ ?

การทดสอบปั้นจั่น ตามรอบประจำปี ต้องทำโดย วิศวกรเครื่องกลที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตามมาตรา 9 หรือ มาตรา 11

อ้างอิง : กฎกระทรวงแรงงานฯ เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ ปี 2564

ปจ.1 ปจ.2 คืออะไร

แบบฟอร์มการตรวจทดสอบปั้นจั่นโดยวิศวกร

ปจ.1 คือ แบบตรวจสำหรับปั้นจั่นอยู่กับที่

ปจ.2 คือ แบบตรวจสำหรับปั้นจั่นเคลื่อนที่

วิศวกรตรวจเครน (ทดสอบ) ปั้นจั่น ไม่ต้องไปตรวจด้วยตัวเองได้หรือไม่ ?

ต้องไปด้วยตนเอง เพราะตามแบบการตรวจเครน ปจ.1 (ปั้นจั่นอยู่กับที่) หรือ ปจ.2(ปั้นจั่นเคลื่อนที่) วิศวกรผู้ตรวจต้องถ่ายรูปกับปั้นจั่นขณะทำการทดสอบ แนบไปในรายงานด้วย  รายงานตรวจถึงจะถือว่าสมบูรณ์

อ้างอิง : แบบฟอร์มการตรวจ ปจ.1 และ ปจ.2 ที่ออกโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และจรรยาบัณของวิศวกร

สมมติรถเครน 50 ตัน จะเอาไปยกของ 10 ตัน ทดสอบด้วยน้ำหนัก 5 ตันถูกต้องหรือไม่ ?

ไม่ถูกต้อง เพราะต้องทดสอบด้วยน้ำหนัก 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ยกจริง แต่ไม่เกินพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนด (สำหรับปั้นจั่นใช้งานแล้ว)

อ้างอิง : ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ปั้นจั่น ปี 2554

รถบรรทุกติดปั้นจั่น (รถเฮี๊ยบ) คนขับต้องอบรมผู้ปฎิบัติงานกับปั้นจั่นหรือไม่

ต้องอบรม ถ้าเป็นรถปั้นจั่น หรือปั้นจั่นแบบอื่นๆ ที่มีพิกัดยกตั้งแต่ 1 ตันเป็นต้นไปต้องมีการอบรม

ถ้ามีการใช้งานรอกมือสาว รอกโยก ต้องมีการตรวจโดยวิศวกรหรือไม่ ?

รอกโยก(Chain Lever Hoist) รอกมือสาว(Manual Hoist) หรือรอกหางปลา ขนาดพิกัดยก 1 ตันขึ้นไปต้องทดสอบโดยวิศวกรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ผู้ปฏิบัติงานกับลิฟต์ขนส่งวัสดุต้องผ่านการอบรมหลักสูตรตามกฎหมายหรือไม่ ?

ไม่มีกฎกระทรวงข้องใดที่ระบุว่าผู้ปฎิบัติงานกับลิฟต์ขนส่งวัสดุต้องผ่านการอบรม