Pressure ระหว่าง Pulley และ สลิง
เมื่อสลิงคล้องผ่าน Pulley จะเกิด Stress ขึ้นระหว่างร่อง Pulley และ สลิง เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดการสัมผัสกัน และมีการรับแรงระหว่างกัน โดยส่วนมากสลิงมักจะรับแรงได้มากกว่าร่อง Pulley และแข็งกว่า เพราะฉะนั้นทำให้เกิดรอบกดทับเป็นรอยสลิงที่ร่อง Pulley เมื่อไม่ได้ทำการตรวจสอบ ทดสอบ โดยวิศวกร ตามแบบ ปจ.1 และ ปจ.2 สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขคือ สลิงจะกดทับไปเรื่อยๆ จน Pulley แตก และสลิงจะตกร่อง เป็นผลให้สลิงขาดได้ในที่สุด
การเลือกใช้ Pulley ให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยที่การเลือกเกรดเหล็กมาทำ Pulley ในกรณีที่ไม่สามารถ หรือไม่ต้องการซื้อจากผู้ผลิต โดยสิ่งที่ต้องนำมาคิดคือ
1.เกรดเหล็กของ Pully
จากสมการตามคู่มือของ Bridon จะพบว่าตามตารางแล้ว Pulley ที่ทำจากเหล็กหล่อ Cast iron จะรับ Permissible Pressure ได้น้อยที่สุด โดยสมมติว่าใช้สลิงที่มีโครงสร้างเกลียว 6 x 19 โดยที่จะสามารถรับ Pressure ได้เพียง 47 kgf/cm² เท่านั้น ในขณะที่ Low carbon steel อยากเหล็กโครงสร้างทั่วไปคือ SS400 จะรับ Pressure ได้ที่ 75 kgf/cm²
2.ขนาดของสลิง และ ขนาดของ รอก Pulley D:d ratio
เมื่อขนาดรอกใหญ่ขึ้น จะส่งผลให้ Pressure ที่เกิดขึ้นกับรอก Pulley มีค่าลดลงได้ เนื่องมาจากการกระจายแรงที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นหากอ้างอิงตามการทดสอบปั้นจั่น ตรวจปั้นจั่น ปจ.1 ปจ.2 ตรวจเครน โดยกฎกระทรวงแรงงาน ในเรื่องเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อนน้ำ ได้กำหนดขนาดของอัตราส่วนของ รอกตะขอต่อขนาดของสลิงต้องไม่น้อยกว่า 16:1 เอาไว้ สาเหตุก็เพราะ Pressure ที่เกิดที่รอกเนี่ยแหละครับ
3. จำนวนการทดสลิง (Part Line) และแรงดึงที่สลิง
เมื่อทดสลิง(Part Line) มากขึ้นก็เปรียบเสมือนกับตัวหารของแรงมากขึ้น ก็จะส่งผลต่อแรงที่กระทำต่อรอก Pulley
กรณีศึกษาตัวอย่างนี้เกิดจากการที่เจ้าของเครนเครื่องนี้ ได้มีการเปลี่ยนรอกที่ไม่ได้ซื้อของเดิมจากผู้ผลิต โดยแกะแบบ และไปสั่งโรงกลึงทำขึ้นมาเพราะฉะนั้น จึงเป็นเหตุน่าสงสัยว่า หากเกรดเหล็กที่นำมาใช้ไม่สามารถรับ Pressure ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เกิดสลิงกินร่องอย่างแน่นอนในอนาคต และอาจจะเป็นเหตุทำให้สลิงของเครนขาดได้ด้วย