การตรวจเครน ไม่ใช่แค่ทำ Check list
เครนตัวนี้พึ่งไปตรวจ ทดสอบปั้นจั่น ตรวจเครน ปจ.1 ปจ.2 มาเมื่อไม่นานมานี้ โดยดั้งเดิมของรางวิ่งเครน Runway beam ถูกออกแบบมาสำหรับเครน 1.6 ตัน แต่ภายหลังได้มีการทำคานใหม่ และใส่ Hoist ใหม่ โดยทำคานเครน 2 ตัน มาใส่ โดยยังคงใช้ Runway beam อันเดิม (ทำไมทำงั้น ?)
เพราะฉะนั้นปัญหาเกิดทันทีครับ !!
ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า Runway มันไม่พอ เพราะ Span ระหว่างเสามันยาวมากถึง 15.5 เมตร
ฉะนั้นงานเข้าผมทันที จำเป็นต้องหาคำนวณเพื่อคำตอบให้ได้ว่า พิกัดเครนมันเป็นเท่าไร
การใช้ตลับเมตรวัดขนาดของกล่องเครน ทำให้สามารถวัดแผ่นบน แผ่นล่าง แต่ในกรณีแผ่นข้าง เราจะไม่สามารถรู้ความหนาได้ เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความหนาของเหล็กมาช่วยในงานนี้
คำนวณการแอ่นตัว และ Bending Stress
จากการคำนวณย้อนกลับ Reverse Engineering ทำให้เห็นว่า ถึงแม้ว่า Bending Stress มันจะผ่าน แต่ค่า Deflection ของ Runway beam มันไม่ผ่าน เพราะมันแอ่นมากเกิน(ปุยมุ้ย )
แล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ เมื่อเรายกชิ้นงานที่ Full load ไปด้านใดด้านหนึ่ง จะเกิดการกระเพื่อมของ Runway beam ซึ่งทำให้คนใช้งานไม่สบายใจ
และแน่นอนว่าในเรื่องของความแข็งแรงระยะยาวจะเกิดความล้า (Fatigue) มากกว่าที่ควรจะเป็น
ผลสรุปจากการคำนวณย้อนกลับการตรวจเครน ตรวจปั้นจั่น
เมื่อเจอแบบนี้ผลที่ตามจากงานพิจารณาตรวจสอบ ก็ต้องรับรองพิกัดให้ไม่เกิน 1.6 ตันล่ะคับที่นี้
ในการตรวจเครน ทดสอบเครน ไม่ใช่แค่การไปเดินทำ Checklist นะครับ ถ้าทำแค่นั้นใครก็ทำได้ ไม่ต้องจ้างวิศวกรหรอกครับ
ประเด็นคือ ถ้าหากคุณเจอเครนมีปัญหา ในเรื่องของพิกัดยก คุณจะสามารถหาคำตอบได้หรือไม่ว่า พิกัดของเครนตัวนั้นเป็นเท่าไร ?
และผมจะบอกว่า การทำแค่วัด deflection และตัดสินใจเอาว่าพิกัดเครนควรจะเป็นเท่าไร มันไม่พอนะครับ
ถ้าหากคุณดูในสมการคำนวณย้อนกลับแบบง่ายนี้ (มันมีแบบยากและซับซ้อนกว่านี้เยอะนะครับ) สมการ Deflection เป็นแค่ส่วนนึงของการคำนวณทั้งหมดเท่านั้น