ปั้นจั่นในโรงงานของคุณ พิกัด WLL ถูกต้องหรือไม่ ?

การตรวจเครน วิธีการตรวจเครน และการรับรองพิกัดยก จะต้องทำโดยวิศวกรเครื่องกล

ในการทดสอบเครน ตรวจเครน หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่าการตรวจเครนตามแบบ ปจ.1 ปจ.2 เป็นสิ่งที่กฎกระทรวงเครื่องจักรปั้นจั่นหม้อน้ำปี 2565 กำหนดเกี่ยวกับการใช้แบบฟอร์มในการทดสอบ คือ

ปจ.1 และ ปจ.2 คือแบบตรวจปั้นจั่น

โดยกฎกระทรวงฯ ได้มีการคุณสมบัติวิศวกรผู้ทำการตรวจปั้นจั่นเอาไว้ คือ

  1. จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ (กว.) สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
  2. จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการกับกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตามมาตรา 9 หรือมาตรา 11

โดยระดับขั้นของวิศวกรที่มักถามกันมาคือ ภาคีวิศวกรสามารถตรวจเครน ทดสอบเครนได้กี่ตัน ? ขอให้ดูตามขั้นดังนี้ ตามข้อกำหนดของสภาวิศวกร

  • วุฒิวิศวกร(วก.) สามารถทำการทดสอบปั้นจั่นได้ทุกขนาด ทุกประเภท
  • สามัญวิศวกร(สก.) สามารถทำการทดสอบปั้นจั่นได้ทุกขนาด ทุกประเภท
  • ภาคีวิศวกร (ภก.) สามารถทดสอบปั้นจั่นที่มีต้นกำลังไม่เกิน 100 kW หรือเท่ากับ 134 แรงม้า

โดยวิศวกรผู้ตรวจ ทดสอบปั้นจั่น ตามแบบ ปจ.1 ปจ.2 จะต้องออกรายงาน โดยมีรูปถ่ายวิศวกรยืนคู่กับเครนขณะที่ทำการทดสอบ ไม่ใช่แค่เพียงไปยืนเฉยๆ แต่ไม่ได้ทำการทดสอบ หรือวิศวกรจะไม่ได้ไปด้วยตัวเองก็ไม่ได้ เอกสารจะถือว่าเป็นโมฆะ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา โรงงาน หรือเจ้าของงานที่นำเครนตัวนั้นไปใช้งานจะต้องรับความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเอง

หน้าที่ของวิศวกรผู้ตรวจเครน

  1. จะต้องทำการคำนวณเพื่อหาพิกัดของเครน หาพิกัดปั้นจั่นที่ทำการตรวจทดสอบ ด้วยตัวเอง ซึ่งในบางกรณีที่ปั้นจั่น อาจจะไม่ได้รับการติดตั้ง ออกแบบที่ถูกต้อง หรือพูดง่ายว่าเป็นเครน OTOP 
  2. วิศวกรจะต้องเอกสารรับรองผลการทดสอบปั้นจั่นให้กับผู้ที่ว่าจ้าง 
  3. จะต้องใช้หลักวิศวกรรมที่ถูกต้อง และซื่อสัตย์กับวิชาชีพ

กรณีศึกษาการคำนวณรับรองปั้นจั่นที่ได้ไปทดสอบมา

จากการสั่งสมประการณ์ของเรา บจก. เครนโปรเฟสชั่นนอล ที่เราบริการทดสอบปั้นจั่น ทดสอบเครนให้กับลูกค้าบริษัทชั้นนำต่างๆ ทั่วประเทศมาไม่ต่ำกว่า 3000 เครื่องตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

ได้พบได้เจอกับปั้นจั่น เครนหลากหลายยี่ห้อ ตั้งแต่เครนที่มีวิศวกรที่มากประสบการณ์ ในการออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบปั้นจั่น จนถึงเครนปั้นจั่นที่ทำกันขึ้นมาเองในโรงงาน

ซึ่งในกรณีศึกษาที่ 1 เป็นโรงงานแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร

ผู้ว่าจ้างแจ้งว่าเป็นปั้นจั่น WLL 3 ตัน แต่ปรากฎว่า ไม่มีวิศวกรรับรอง ในขั้นตอนการออกแบบ,ติดตั้ง, ทดสอบ ทำให้พิกัดเครนตัวนี้ตามที่ผู้ผลิตบอกมานั้น ถือว่าเชื่อถือไม่ได้ เราจำเป็นต้องทำการคำนวณรับรองเครนใหม่ หรือเรียกอีกว่าทำ Reverse engineering (วิศวกรรมย้อนรอย) เพื่อหาพิกัดของเครนตัวนี้

ปรากฎว่าเครนตัวนี้สามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัยตามรายการคำนวณคือ 1.5 ตัน เท่านั้น !! ซึ่งถือว่าเครนตัวนี้ออกแบบไม่ถูกต้อง (Under Design) ซึ่งหากใช้งานไปนานและนำไปยกเต็มค่าพิกัดของเครน อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

กรณีศึกษาที่-1-เครน-3ตัน-แต่รับแรงได้-1.5-ตันรายการคำนวณการรับแรงของคานปั้นจั่นเครนรายการคำนวณหาแรงกดที่ล้อสูงสุดรายการคำนวณการรับแรงของ-Runway-beamปั้นจั่นเครน

 

กรณีศึกษาที่ 2 จากการตรวจเครนตามแบบ ปจ.1 ปจ.2 เป็นโรงงานแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร

ผู้ว่าจ้างแจ้งว่าเป็นปั้นจั่น WLL 5 ตัน แต่ปรากฎว่า ไม่มีวิศวกรรับรอง ในขั้นตอนการออกแบบ,ติดตั้ง, ทดสอบ ปรากฎว่าเครนตัวนี้สามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัยตามรายการคำนวณคือ 3 ตัน เท่านั้น !! 

กรณีศึกษาที่ 2 เครน 5 ตัน แต่รับแรงได้ 3 ตัน

 

กรณีศึกษาที่ 3 จากการทดสอบปั้นจั่น ปจ.1 ปจ.2 เป็นโรงงานแห่งหนึ่งใน จ.เชียงราย

ผู้ว่าจ้างแจ้งว่าเป็นปั้นจั่น WLL 7.5 ตัน ซึ่งพึ่่งติดตั้งเสร็จใหม่ แต่ปรากฎว่า ไม่มีวิศวกรรับรอง ในขั้นตอนการออกแบบ,ติดตั้ง, ทดสอบ ปรากฎว่าเครนตัวนี้สามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัยตามรายการคำนวณรับรองคือไม่เกิน 5 ตัน เท่านั้น !! 

กรณีศึกษาที่ 3 เครน 7.5 ตัน แต่รับแรงได้ 5 ตัน

 

กรณีศึกษาที่ 4 จากการ Load Test เครน ปจ.1 ปจ.2 ตามกฎกระทรวงฯ 2564 เป็นโรงงานแห่งหนึ่งใน จ.สระบุรี

ผู้ว่าจ้างแจ้งว่าเป็นปั้นจั่น WLL 5 ตัน ซึ่งติดตั้งใช้งานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี แต่โชคดีที่ทำการยกไม่เกิน 3 ตัน ปรากฎว่า ไม่มีวิศวกรรับรอง ในขั้นตอนการออกแบบ,ติดตั้ง, ทดสอบ ปรากฎว่าเครนตัวนี้สามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัยตามรายการคำนวณรับรองคือไม่เกิน 2.5 ตัน เท่านั้น !! 

กรณีศึกษาการทดสอบปั้นจั่นที่ 4 เครน 5 ตัน แต่รับแรงได้ 2.5 ตัน ตรวจเครน กรณีศึกษาที่ 5 เครน 2 ตัน แต่รับแรงได้ 0.9 ตัน คำนวณหาพิกัดเครน กรณีศึกษาที่ 6 เครน 7.5ตัน แต่รับแรงได้ 5 ตัน